Quantcast
Channel: Blognone - ข่าวไอที เทคโนโลยี มือถือ เกม ความปลอดภัย โอเพนซอร์ส
Viewing all articles
Browse latest Browse all 58411

ชำแหละประเภทของเงินฝากออมทรัพย์ประเภทต่างๆ ในไทย

$
0
0

เวลาที่เราฝากเงิน ตัวเลือกแรกที่เราฝากกันเสมอคือ ฝากออมทรัพย์ หรือไม่ก็ฝากเผื่อเรียก แม้ชื่อของการฝากออมทรัพย์จะเป็นการฝากเพื่อออม แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราต้องการออมเงินในระยะยาวจริงๆ การฝากแบบฝากออมทรัพย์กลับเป็นทางเลือกที่ไม่ดีนักเพราะอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เราจะมาดูกันว่าเงินฝากแบบไหนที่เหมาะกับเรา

เมื่อก่อนนี้ ธนาคารมักจะมีเงินฝากสี่รูปแบบหลักๆ ได้แก่

- เงินฝากออมทรัพย์ไม่มีเงื่อนไขในการถอน คือจะฝากหรือถอนเท่าไหร่ก็ได้ ยกเว้นถอนด้วยบัตรเอทีเอ็มที่จะมีกำหนดจำนวนเงินและครั้งในการถอนผ่านบัตร เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายรับรายจ่ายเป็นประจำ และสามารถทำรายการถอนเงินด้วยตัวเองได้ แต่ข้อเสียสำคัญคือดอกเบี้ยน้อย
- เงินฝากประจำจะมีอัตราดอกเบี้ยให้ลูกค้าสูงกว่าเงินฝากออกทรัพย์ แต่จะมีเงื่อนไขระยะเวลาระบุ เช่น 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินและไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้เงินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพราะต้องคงเงินเอาไว้ในบัญชีตามที่ระบุไว้ ไม่อย่างนั้นดอกเบี้ยจะลดลง และเนื่องจากเป็นเงินฝากระยะยาว หลายธนาคารจะระบุขั้นต่ำไว้ระดับ 10,000 บาทไปจนถึงหลักแสนบาท
- เงินฝากปลอดภาษีเป็นเงินฝากประจำที่มีเงื่อนไขระบุระยะเวลา ลูกค้าจะต้องส่งมอบเงินฝากให้ธนาคารประจำทุกเดือน ยอดรวมไม่เกิน 600,000 บาทเมื่อครบกำหนด เหมาะกับผู้มีรายได้สม่ำเสมอและต้องการสร้างวินัยในการออมอย่างมาก เพราะต้องฝากเท่ากันทุกเดือนเป็นเวลานับปีจนกระทั่งครบแล้วจึงจะถอนออกมาได้ หากต้องใช้เงินระหว่างนั้นก็จะกลายเป็นเสียผลประโยชน์ไป
- เงินฝากกระแสรายวันไม่มีข้อจำกัดในการถอน แต่ลูกค้าจะไม่ได้รับสมุดเงินฝาก แต่จะถอนเงินได้ในรูปของเช็คแทน เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการถอนเงินเป็นประจำโดยไม่ต้องการถอนเงินด้วยตัวเอง คือใช้เช็คในการจ่ายเงินแทน รูปแบบนี้แม้จะสะดวกหลายอย่างแต่ก็แลกมาด้วยการไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย

ลองมาดูอัตราดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2556 กันเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น

upic.me

จะเห็นว่าอัตราดอกเบื้ยโดยทั่วไป การฝากออมทรัพย์จะให้ดอกเบื้ยต่ำมาก ขณะที่ดอกเบื้ยของการฝากประจำนั้นอาจจะสูงได้ถึง 3% ต่อปี แต่ก็หมายถึงเราจะถูกจำกัดการฝากถอนเงินไปถึงสองปีเต็ม

ช่วงหลังหลายธนาคารเริ่มให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ที่เปิดให้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ยังมีอิสระในการฝากถอนเงินอยู่ หลายบริการให้บริการแบบดอกเบื้ยขั้นบันได นั่นคือเมื่อเราฝากเงินไปช่วงเวลาหนึ่งก็จะได้ดอกเบื้ยในแต่ละเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบนี้แม้ช่วงเดือนท้ายๆ จะได้ดอกเบี้ยสูงเหมือนฝากประจำระยะเวลานานๆ และยังมีอิสระในการถอนเงินมาใช้ก่อนหมดช่วงเวลาได้ แต่เมื่อนำดอกเบื้ยมาเฉลี่ยกันแล้วบางครั้งก็ไม่ได้สูงมากนัก

ช่วงนี้เราน่าจะได้เห็นสื่อต่างๆ ประชาสัมพันธ์ ME by TMBกันมาบ้าง แม้จะเห็นโฆษณาหลักๆ ว่าให้ดอกเบี้ยห้าเท่า และชื่อต่อท้ายว่า by TMB แต่ที่จริงแล้ว ME by TMBเป็นบริการธนาคารที่แยกออกมาต่างหาก มีสาขา (ที่เรียกว่า ME Place) และบริการต่างๆ แยกออกจากกัน โดย ME by TMBตอนนี้มีบัญชีแบบเดียวคือ ME ที่เป็นบัญชีที่ต้องใช้บริการทางออนไลน์แทบทั้งหมด โดยที่เราแทบไม่ต้องไปที่สาขาอีกเลยหลังจากเปิดบัญชีครั้งแรก

ME เป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง (ในตอนที่เขียนบทความ ไม่รวมโปรโมชั่นก็ยังอยู่ในระดับเดียวกับดอกเบี้ยฝากประจำ 24 เดือน) โดยไม่มีเงื่อนไขระยะเวลาฝากหรือปริมาณเงินฝากขั้นต่ำ แม้ว่า ME by TMBจะแยกจาก TMB แต่เราก็ยังใช้ช่องทางของ TMB เพื่อฝากเงินได้ทั้งเครื่องรับฝากเงิน (ADM) หรือการโอนเงินเข้าจากบัญชีอื่นๆ รวมไปถึงการฝากผ่านเช็ค (เฉพาะ ME Place) โดยมีข้อจำกัดเดียวคือเราไม่สามารถไปถอนเงินสดออกจาก ME โดยตรงได้ แต่ต้องโอนออกไปยังบัญชีหลักอีกบัญชีที่เราระบุไว้ตอนสมัคร โดยทั่วไปก็แนะนำให้ใช้บัญชีหลักเป็น TMB เพราะสามารถโอนออกได้ฟรีไม่จำกัดจำนวนครั้ง เมื่อเราต้องการใช้เงินก็ต้องโอนเข้าบัญชีที่ผูกไว้แล้วจึงสามารถถอนเป็นเงินสด หรือโอนออกไปยังบัญชีอื่นๆ

ด้วยรูปแบบนี้เราสามารถใช้บริการฝากเงิน ME เป็นจุดพักเงินออมเอาไว้แทนที่จะปล่อยเงินฝากเอาไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบื้ยน้อย รูปแบบการฝากเงิน ME นั้นให้ดอกเบี้ยในปีที่ผ่านมาอยู่ในช่วง 3.0 ถึง 3.5 เปอร์เซ็นต์ (ขึ้นกับเงื่อนไขในแต่ละช่วงเวลา) อย่างไรก็ดี การปรับดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นไปตามประกาศของ กนง. (คณะกรรมการนโยบายการเงิน) ว่าจะปรับสูงหรือลดดอกเบี้ย แต่โดยรวม ME ก็ยังให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปอยู่ดี

โดยสรุป ความแตกต่างสำหรับบัญชีแต่ละประเภท ได้ตามตาราง

upic.me

จะเห็นว่า ME ให้อิสระในหลายรูปแบบมากกว่า แต่ข้อจำกัดสำคัญคือการถอนออนไลน์ที่ต้องถอนด้วยการโอนออกไปยังบัญชีหลัก แต่ในแง่ความปลอดภัย การล็อกเงินไว้ในบัญชีที่โอนเข้าไปได้เฉพาะบัญชีของเราเองเท่านั้นก็ช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาการถูกแฮคบัญชีธนาคารออนไลน์ผ่านทางมัลแวร์และการล่อลวงให้โอนไปยังคนร้าย ถ้าเรามีเงินเอาไว้ในบัญชีปกติเท่าที่เราพอใช้งานในแต่ละเดือนแล้ววางเงินเก็บไว้ใน ME หากจะมีคนร้ายมาล่อลวงเอาเงินออกไปก็ต้องผ่านการโอนออกไปยังบัญชีหลักก่อน หากวันหนึ่งเราพลาดพลั้งถูกมัลแวร์หลอกโอนเงินเข้าจริงๆ ความเสียหายก็ยังจำกัดอยู่ที่เงินที่เราเตรียมไว้ใช้ประจำวัน

นับว่า ME น่าลองใช้แบ่งเงินเก็บออกจากบัญชีออมทรัพย์ มาเป็นบัญชีที่ใช้เก็บเงินส่วนที่เรายังไม่ได้ใช้ทันทีเป็นประจำ แล้วเราอาจจะพบว่าเราเสียโอกาสได้ดอกเบี้ยปีละหลายพันหรือหลายหมื่นบาทมานานกว่าที่คิด

ที่มา - Fun Fund Forum, TMB Bank, Bank of Thailand, Bank of Thailand (2)

Advertorial, Banking, TMB

Viewing all articles
Browse latest Browse all 58411